การประคบสมุนไพร การบำบัดรักษาที่ใช้ควบคู่กับการนวดแผนไทย

การประคบสมุนไพร การบำบัดรักษาที่ใช้ควบคู่กับการนวดแผนไทย

การนวดประคบสมุนไพร ก็คือการนำเอาสมุนไพรหลายๆอย่าง นำมาห่อ เป็นลูกเรียกว่าลูกประคบสมุนไพรส่วนใหญ่ที่นำมาใช้จะมีน้ำมันหอมระเหยเช่นไพลขมิ้น ขมิ้นอ้อย มะกรูด ตะไคร้ การบูร เป็นต้น ซึ่งเมื่อนำลูกประคบ ไปนึ่งให้ร้อนก็จะมีกลิ่นระเหยออกมาเป็นวิธีการบำบัดรักษา ของแพทย์แผนไทยซึ่งนำมาใช้ควบคู่กับการนวดไทย โดยจะใช้การประคบหลังจากการนวด หรือประคบไปพร้อมกับการนวดก็ได้

ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร

  1. ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก
  2. ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบ
  3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  4. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  5. ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่างๆ
  6. ช่วยกระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

ข้อควรระวังในการนวดประคบสมุนไพร

  1. ควรระวังบริเวณผิวหนังอ่อนๆหรือบริเวณที่บาดเจ็บ อาจจะมีผ้ารองก่อนการประคบ
  2. ควรระมัดระวังตลอดเวลาที่ทำการประคบโดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานอัมพาต หรือผู้สูงอายุ เพราะการตอบสนองของระบบประสาทจะช้ากว่าปกติ
  3. ห้ามใช้ลูกประคบที่มีความร้อนมากเกินไป
  4. ไม่ควรประคบผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บภายใน 24 ชั่วโมงแรก เพราะจะทำให้บวมมากขึ้นให้ประคบได้ด้วยความเย็นเท่านั้น
  5. หลังจากที่ประคบแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันที เนื่องจากอาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายผิดปกติและทำให้เกิดอาการไม่สบายตัวได้

การประคบ จะใช้ควบคู่กับการนวดไทยเมื่อ เป็นการบำบัดรักษาอาการปวดเมื่อยและ ช่วยให้การนวด มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในหลักสูตรการเรียนนวดแผนไทย มีหลักสูตรการเรียนการสอนนวดประคบด้วย เนื่องจาก การเปิดให้บริการ ตามร้านนวดหรือสปาต่างๆ จะมี การนวดประคบ ไว้บริการลูกค้า สำหรับผู้ที่นวดอย่างเดียวแล้ว อาการไม่ดีขึ้นจึงนวดประคบร่วมด้วยเพราะในลูกประคบ จะมีสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยลดการอักเสบ และทั้งอาการวิงเวียน ตัวช่วยในการบำรุงผิวพรรณลดผื่นคัน การฟอกช้ำ และแก้หวัด เป็นต้น การประคบและการนวดประคบสมุนไพร จึงเป็นศาสตร์ในการบำบัดรักษาของไทยอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ควบคู่ กันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแม้ว่าการแพทย์แผนปัจจุบันจะมีการพัฒนา ระบบในการรักษาแบบต่างๆแล้วแต่ในการรักษาแบบไทยๆก็เป็นที่นิยมและเห็นผลหลังการรักษาไม่แพ้กัน